หลักการและเหตุผล
วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตผลงานทางวิชาการ โดยมีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนผลงานทางวิชาการอันมีคุณค่า นำไปสู่การใช้ประโยชน์และการเผยแพร่อย่างกว้างขวางระหว่างนักวิจัยและนักวิชาการจากหน่วยงานภายในและภายนอกวิทยาลัย รวมทั้งเพื่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการอย่างแพร่หลาย
กอรปกับวิทยาลัย มีความประสงค์ในการสร้างความตระหนักและความเข้าใจต่อสาธารณะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกหลังเกิดวิกฤตการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การปรับตัวของสังคม และบทบาทของนวัตกรรมสังคมที่มีต่อการรองรับวิกฤตดังกล่าว วิทยาลัยจึงได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 ประจำปีการศึกษา 2563 หัวข้อ “Social Innovation in the Era of Global Changes after Covid-19 Crisis: นวัตกรรมสังคมในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงของโลกหลังวิกฤตโควิด-19” ขึ้นเพื่อเป็นเวทีสำหรับการนำเสนอผลงานทางวิชาการที่เปิดโอกาสให้กับนักวิจัย นักวิชาการ นิสิต/นักศึกษา และผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจากทั่วประเทศ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อันจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจต่อสาธารณะในเรื่องสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกและการปรับตัวของสังคมหลังวิกฤตโควิด-19
เพื่อเป็นเวทีให้กับนักวิจัย นักวิชาการ นิสิต/นักศึกษา และผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจากทั่วประเทศ ได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อแวดวงวิชาการและสาธารณชนรวมทั้งได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประสบการณ์ทางด้านการวิชาการ รวมทั้งเพื่อเป็นการระดมสมองในการคิดประเด็นทางวิชาการใหม่ ๆ ให้ตอบสนองต่อสภาพปัจจุบันและอนาคต
ระยะเวลาดำเนินการ
วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 08.30-16.30 น.
สถานที่จัดประชุมวิชาการ
อาคารอเนกประสงค์ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
กลุ่มเป้าหมาย
นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต/นักศึกษา และผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจากทั่วประเทศ
รูปแบบการประชุม
การแสดงวีดิทัศน์การประยุกต์ใช้นวัตกรรมสังคมในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงของโลกหลังวิกฤตโควิด-19
การจัดนิทรรศการ
การนำเสนอผลงานทางวิชาการภาคโปสเตอร์ และการประกวดโปสเตอร์ดีเด่น
การนำเสนอผลงานทางวิชาการภาคบรรยาย
ผลงานทางวิชาการที่นำเสนอ
เป็นผลงานทางวิชาการ ที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว หรืออยู่ในระหว่างการดำเนินการที่ยังไม่เคยตีพิมพ์หรือนำเสนอผลงานดังกล่าวเสนอในการประชุมวิชาการใดมาก่อน
กรณีเป็นโครงงานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์ ของนิสิต/นักศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ผลงานดังกล่าวต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือนำเสนอในการประชุมทางวิชาการใดมาก่อน และต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาหลักลงนามในแบบฟอร์มส่งบทความด้วย
การนำเสนอผลงานทางวิชาการ เป็นการนำเสนอบทความในรูปแบบการบรรยาย (Oral Presentation) นำเสนอด้วย Power Point ใช้เวลาในการนำเสนอบทความละ 10 นาที ซักถาม 5 นาที รวมเวลา 15 นาทีต่อบทความ ส่วนการนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) นำเสนอด้วยโปสเตอร์ จำนวน 1 แผ่นต่อบทความ โดยจัดเนื้อหาให้มีความกระชับและมีขนาดตัวอักษรที่มองเห็นชัดเจน ให้มีขนาดความกว้าง 75 เซนติเมตร และความสูง 115 เซนติเมตร
เป็นผลงานทางวิชาการที่อยู่ในขอบข่าย ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ด้านวิศวกรรมศาสตร์
กลุ่มที่ 2 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลุ่มที่ 3 ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
กลุ่มที่ 4 ด้านการจัดการและบริหารธุรกิจ
กลุ่มที่ 5 ด้านสารสนเทศศาสตร์
กลุ่มที่ 6 ด้านการศึกษา
กลุ่มที่ 7 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มที่ 8 ด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม
กลุ่มที่ 9 ด้านนวัตกรรมสังคม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนและเงื่อนไขการส่งบทความ
- จัดเตรียมบทความให้อยู่ในรูปแบบของที่ประชุมกำหนด โดยใช้ Template บทความ
- ส่งบทความผ่านเว็บไซต์
- ผู้ส่งบทความที่เป็นนิสิต/นักศึกษา ต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาหลักลงนามในแบบฟอร์มส่งบทความด้วย
- ลงทะเบียนส่งบทความเข้าร่วมนำเสนอบทความ พร้อม แนบแบบฟอร์มส่งบทความ
- ลงทะเบียนชำระเงินหลังจากส่งบทความ เพื่อยืนยันความสมบูรณ์ของการเข้าร่วมนำเสนอ (ชำระเงินค่าลงทะเบียนภายใน 1 สัปดาห์หลังจากส่งบทความ)
- วิทยาลัยจะพิจารณาส่งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินเฉพาะบทความที่ได้ชำระเงินแล้วเท่านั้น บทความที่ผ่านการพิจารณาจะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สำหรับบทความที่ไม่ผ่านการพิจารณา ผู้ส่งบทความสามารถเข้าร่วมประชุมได้แต่ไม่สามารถเสนอบทความได้และจะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โดยขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและดำเนินการ ดังนี้
1) การจัดกลุ่มและประเภทการนำเสนอบทความที่เหมาะสม
2) ผู้นำเสนอจะถูกตัดสิทธิ์การเสนอบทความ ในกรณีต่อไปนี้
(1) บทคัดย่อ บทความ และโปสเตอร์ ไม่ถูกต้องตามแบบฟอร์มหรือรูปแบบที่กำหนด
(2) ไม่ปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ โดยไม่มีเหตุอันควร
(3) เมื่อตรวจสอบพบในภายหลังว่าบทความมีการตีพิมพ์เผยแพร่ที่ได้ที่หนึ่งมาก่อนไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม
(4) ไม่ชำระค่าลงทะเบียน
- ผู้ส่งบทความจะเป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบความถูกต้องของการสะกดคำในบทความของตนเอง
- บทความที่ส่งเข้ามาจะต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง และรูปแบบตามที่วิทยาลัยกำหนด
- ผู้ส่งบทความ ต้องมานำเสนอบทความด้วยตนเองในวันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช หากไม่สามารถนำเสนอบทความด้วยตนเอง จะไม่ได้รับการเผยแพร่บทความ และวิทยาลัยจะทำหนังสือแจ้งไปยังสถาบัน/หน่วยงานต้นสังกัดของผู้ส่งบทความต่อไป
อัตราค่าลงทะเบียน

วิธีการชำระเงินค่าลงทะเบียน
- กรุณาโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาทุ่งสง หมายเลขบัญชี 349-072630-8 ชื่อบัญชีวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ (ระบุว่า “การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11”) โปรดเก็บหลักฐานการชำระเงินเพื่อนำมาขอรับใบเสร็จรับเงิน ณ จุดลงทะเบียนในวันงานประชุม กรุณาแจ้งข้อมูลสำหรับออกใบเสร็จให้ชัดเจน
- หลังจากโอนเงินเรียบร้อยแล้วแจ้งรายละเอียดในการออกใบเสร็จให้ชัดเจนพร้อมส่งหลักฐานการชำระเงินผ่านระบบลงทะเบียนชำระเงิน
- กรณีที่ผู้สมัคร (ทุกประเภทการชำระเงิน) ไม่ได้มานำเสนอบทความ ยกเลิก หรือไม่ได้เข้าร่วมการนำเสนอบทความ หรือบทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้สมัครถูกตัดสิทธิ์ในการเข้าร่วมนำเสนอ ทางวิทยาลัยขอสงวนสิทธิ์ในการไม่คืนเงินค่าลงทะเบียน แต่สามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมได้
หมายเหตุ : วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ ได้จัดรถบริการรับ-ส่ง ผู้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการ ในระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2564 ตามช่วงเวลา กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ หากผู้เข้าร่วมการประชุมต้องการรถบริการ กรุณาแจ้งผ่านระบบลงทะเบียนชำระเงิน (เพื่อความสะดวกสำหรับการให้บริการกรุณาระบุจุดที่ให้รถรับ-ส่งในช่องอื่น ๆ เช่น วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 07.45 น. รับที่โรงแรมที่ท่านพัก เป็นต้น)
ติดต่อประสานงานผ่านฝ่ายยานพาหนะ โทรศัพท์ 081-079-6699, 084-461-4318
ลิงก์เพิ่มเติม :
https://conference.sct.ac.th/11/
แชร์ข่าวนี้บน facebook